Home Movies Little Snail Curry

Little Snail Curry

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย

The Hundred-foot Journey

หนังที่มีชื่อไทยไพเราะว่า "ปรุงชีวิต ลิขิตฝัน" นี้ เป็นเรื่องของครอบครัวชาวอินเดียที่มาบุกเบิกเปิดร้านอาหารอินเดียในเมืองซานต์แอนโทนิน ฝรั่งเศส โดยมีฮัสซัน ลูกชายคนกลางเป็นกุ๊กมือหนึ่ง

The Fault in Our Stars 2

ในชีวิตมีหลายครั้งที่ดูหนังแล้วตกอยู่ในภวังค์ ไม่สามารถเลิกคิดถึงหนังเรื่องนั้นได้ เพราะหนังมีอะไรบางอย่างทำให้เราต้องคิดต่ออีกเยอะแยะหลังจากดูจบ วิธีแก้มีทางเดียว จั๊งซี่มันต้องถอน ถอนด้วยการไปดูเรื่องนั้นซ้ำอีก แล้วก็จะสบายอกสบายใจออกจากภวังค์ได้ ที่ผ่านมามีหลายเรื่องที่ต้องไปดูซ้ำ เช่น Nobody Knows/ Lust, Caution/ รักแห่งสยาม/ บอดี้ ศพ #19/ Cloud Atlas ฯลฯ จนกระทั่งมาถึงเรื่องล่าสุด The Fault in Our Stars

After the Storm

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 074; ดู After the Storm หนังเรื่องแรกในโครงการ The Little Big Films Project ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดโดยสหมงคลฟิล์ม ค่ายหนังของเสี่ยเจียง โครงการนี้จัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 เพื่อฉายหนังต่างประเทศที่อาจจะไม่ได้สร้างหรือจัดจำหน่ายโดยสตูดิโอใหญ่ๆ แต่ก็เป็นหนังดีที่ได้รับความชื่นชมในระดับนานาชาติ

Interstellar

หนังนำเสนอประเด็นหลากหลายซึ่งหนังไซ-ไฟอวกาศทั่วไปไม่ค่อยพูดถึงเช่น เรื่องมิติแห่งเวลา ซึ่งถูกนำเสนอในฐานะปมปัญหาสำคัญที่ตัวละครต้องแก้ไขและต่อสู้กับมัน ทั้งนี้โนแลนเป็น ผกก. ที่เชี่ยวชาญในการเล่นกับเวลาอยู่แล้ว

Personal Shopper

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 114; ดู Personal Shopper หนังผี (มั้ง) ผลงานการกำกับ-เขียนบทของโอลิวิเยร์ อัสซายัส ผู้กำกับชาวฝรั่งเศสที่คนไทยน่าจะรู้จักมากที่สุด หรืออย่างน้อยก็อาจจะเคยได้ยินชื่อมาบ้าง เพราะแกเป็นผู้กำกับมือรางวัลระดับโลกทีเดียว ท่านที่เป็นแฟนประจำเบี้ยน้อยหอยน้อย คงทราบดีถึงความบอดใบ้ของดิฉันที่มีต่อหนังฝรั่งเศส หรือหนังที่กำกับ-เขียนบทโดยผู้กำกับชาวฝรั่งเศส ดังที่ดิฉันเคยเขียนไว้ในเบี้ยน้อยฯ 040 La Famille Bélier ว่า เวลาดูหนังฝรั่งเศสดิฉันจะเกิดความรู้สึก "อะไรวะ" กับตรรกะของเรื่องและของตัวละครอยู่เนืองๆ แต่ถึงอย่างนั้นดิฉันก็ยังตามดูหนังฝรั่งเศสเท่าที่มีโอกาส...

The Founder

หนังที่สร้างมาจากเรื่องจริงของ "ผู้ก่อตั้ง" แมคโดนัลด์ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ได้เป็น "ผู้ก่อตั้ง" แมคโดนัลด์...บุคคลผู้นี้มีชื่อว่า เรย์ คร็อก ประกอบสัมมาอาชีวะเป็นเซลส์แมน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ จนกระทั่งวันหนึ่งในปี 1954 (พ.ศ. 2497) ร้านอาหารที่เมืองแซนเบอร์นาดิโน รัฐแคลิฟอร์เนีย สั่งซื้อเครื่องปั่นมิลค์เชคของแกถึง 6 เครื่อง แกก็เลยไปดูให้เห็นกับตาว่าร้านอะไรจะขายดิบขายดีถึงกับต้องปั่นมิลค์เชคเป็นระวิงขนาดนั้น นั่นก็คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้แกได้รู้จักกับร้าน McDonald's

Along with the Gods: The Two Worlds

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 162; ดู Along with the Gods: The Two Worlds หนังที่ทำรายได้ทั่วโลกได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์หนังเกาหลี แซงหน้า Train to Busan ของอ๊ปป้ากงยูไปหลายช่วงตัว หนังเรื่องนี้สร้างมาจากเว็บคอมิกส์ (การ์ตูนภาพที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์) เขียนโดย จูโฮมิน เป็นคอมิกส์ที่มีจำนวนผู้อ่านสูงสุดของเว็บ เมื่อพิมพ์เป็นเล่มก็ขายได้เกือบ 5 แสนเล่ม ได้รับการดัดแปลงเป็นหนัง 2 ภาคจบ ภาค The Two Worlds นี้เป็นภาคแรก มีชื่อภาษาเกาหลีว่า 신과함께 - 죄와 벌 (ชินควาฮัมเก - เจวาพ็อล) แปลว่า “เดินทางไปกับเทพเจ้า : บาปและการลงทัณฑ์” ชื่อไทยอย่างเป็นทางการก็คือ “ฝ่า 7 นรกไปกับพระเจ้า”

Little Forest: Summer/Autumn

คนญี่ปุ่นมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับฤดูกาลมาก อาจเป็นเพราะแต่ละฤดูมีภูมิอากาศและภูมิทัศน์แตกต่างกันมากและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ฤดูใบไม้ผลิก็อากาศสดใสมีซากุระบาน ฤดูร้อนก็ร้อนชื้นอบอ้าวราวกับอยู่ในลังถึง ฤดูใบไม้ร่วงก็อากาศเย็นมีใบไม้หลากสีสัน ฤดูหนาวก็หิมะตกเหน็บหนาวราวกับอยู่ในตู้เย็น ความแตกต่างของฤดูกาลมีความสำคัญต่อคนญี่ปุ่น และเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันในมิติที่หลากหลาย การทำหนังที่เล่าเรื่องราวของคนคนหนึ่งในฤดูกาลต่างๆ ครบ 4 ฤดูในรอบ 1 ปี จึงเป็นอะไรที่ญี่ปุ๊นญี่ปุ่น และก็คงจะไม่มีประเทศใดทำหนังแบบนี้แล้วล่ะนอกจากญี่ปุ่นเท่านั้น

Into the Woods

ดังเป็นที่ทราบกันว่า หนัง Into the Woods สร้างมาจากละครเพลงของสตีเฟน ซอนด์ไฮม์ และเจมส์ ลาไพน์ นั้น ปัญหาของหนังเรื่องนี้คือ ความไม่ลงตัวในการปรับบทและวิธีการนำเสนอเมื่อเปลี่ยนจากละครเวทีมาเป็นหนัง

Avengers: Age of Ultron

ในงานประเภทบันเทิงคดี (fiction) ฉากที่เกิดเหตุการณ์ของเรื่องอาจจะเป็นที่ที่ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นดินแดนซึ่งจินตนาการขึ้นให้เป็น 'โลกของตัวละคร' หรือถ้าจะเปรียบให้ใหญ่กว่า 'โลก' ก็กล่าวได้ว่ามันคือ 'จักรวาลของตัวละคร' ที่ซึ่งตัวละครใช้ชีวิตและดำเนินบทบาทต่างๆ ตามท้องเรื่อง สิ่งนี้มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า fictional universe (ดิฉันแปลเองโง่ๆ ว่า จักรวาลของบันเทิงคดี) ซึ่งถ้าบันเทิงคดีหลายเรื่องเกิดขึ้นใน 'จักรวาล' เดียวกัน ก็จะเรียกว่า fictional shared universe (แปลขำๆ ว่า จักรวาลร่วมของบันเทิงคดี) เราคุ้นเคยกับ shared universe ในหนังมามากมาย เช่น Harry Potter ทั้ง 7 ภาค The Lord of the Rings + The Hobbit และ X-Men ทั้งหลาย แต่คงไม่มีจักรวาลใดแล้วที่ใหญ่โตกว้างขวางเท่า "จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล" หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Marvel Cinematic Universe (MCU)