Home Tags การแพทย์

Tag: การแพทย์

ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 12: การลงเล่นน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติมีอันตรายจากปรสิตหรือไม่

อากาศร้อนๆ แบบนี้ อยากโดดลงน้ำคลายร้อนกันใช่มั้ย แต่เอ๊ะ...ถ้าลงเล่นน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ จะเจอพยาธิไชเข้าตามตัวเรามั้ยนะ!? อยากรู้ก็ดูกันเลย! โดยวิทยากร ผศ. ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 11 ปรสิตที่อยู่ในสัตว์เลี้ยง: สุนัขและแมว

ทาสหมา ทาสแมวทั้งหลาย… อยากรู้มั้ยว่าหากเจ้านายที่รักของเรามีพยาธิ จะสามารถนำพยาธิตัวจ้อยมาติดเราผู้เป็นทาสได้หรือไม่!? และถ้าติดแล้ว จะอันตรายมากน้อยขนาดไหน มีข้อควรระวังหรือไม่ โดยเฉพาะกับสาวๆ ที่ตั้งครรภ์อยู่!? โดยวิทยากร ผศ. ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 10: โรคจากพยาธิตัวจี๊ด

พยาธิตัวจี๊ดดดดด.... ชื่อนี้แสนคุ้นหู เพราะพบเจอได้บ่อยๆ ในเมืองไทย พยาธิตัวจิ๋ว แต่ไม่จิ๊บจ๊อยตัวนี้ ไชดื้บๆ ไปไหนได้บ้าง!? มันก่อโรคให้เราได้อย่างไร ทำไมเราถึงรับเชื้อมาได้? อยากรู้ว่าจะรักษาได้อย่างไร? ฟังคำตอบได้จากวิทยากร ผศ. ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 9: อาการของโรคปรสิต

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มักมีอาการท้องเสียเรื้อรัง... ...ท้องเสียเป็นมูกเลือด... ...ท้องเสียสลับท้องผูก... หรือขับถ่ายแล้วมีไขมันออกมาด้วย!? และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบกินอาหารสุกๆ ดิบๆ ละก็... ระวังให้ดี! สิ่งเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคจากปรสิต!!! ถ้าอยากรู้ว่าตนเองเข้าข่ายหรือไม่ และควรรับการตรวจวินิจฉัยอย่างไร โดยวิทยากร ผศ. ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 8: ยาถ่ายพยาธิ

ใครสงสัยเรื่อง “ยาถ่ายพยาธิ” ฟังทางนี้เลยยยยย ถ้าเราเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะติดโรคพยาธิได้ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องกินยาถ่ายพยาธิ แล้วต้องกินอย่างไร “เม็ดเดียว ครั้งเดียว” หายจากโรคพยาธิได้จริงหรือไม่ ถ้าคนทั่วไปที่ไม่ได้มีความเสี่ยงล่ะ จำเป็นต้องกินยาด้วยรึเปล่า ถ้ากินยาถ่ายพยาธิแล้วจะมีอันตรายไหม มีผลข้างเคียงอย่างไร โดยวิทยากร ผศ. ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 7: อาหารปิ้งย่าง

ตอนที่แล้ว เราได้ฟังกันไปแล้วว่าปลาดิบญี่ปุ่นที่เรานิยมบริโภคกันนั้น จริงๆ แล้วมีพยาธิหรือไม่… คราวนี้ สำหรับผู้นิยมชมชอบอาหารปิ้งย่าง โดยเฉพาะเนื้อหมูเนื้อวัวที่ปิ้งแบบเนื้อแดงๆ ลองมาฟังกันเลยว่า อาหารโปรดของคุณนั้นปลอดภัยจากพยาธิหรือไม่!? โดยวิทยากร ผศ. ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลอดเลือดหัวใจ ตอนที่ 9: วิธีป้องกันตัวเองให้ห่างจากโรคหัวใจ

ไม่อยากเป็นโรคหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ต้องทำยังไง มีวิธีป้องกันตัวเองหรือไม่ กินอาหารเสริม หรือออกกำลังกายจะช่วยได้หรือไม่ โดย ผศ.พญ. อิงอร อรุณากูร อายุรแพทย์โรคหัวใจ จากศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 6: “พยาธิ” ในปลา!?

เวลาเราไปกิน “ปลาดิบ” หรือ “ซาชิมิ” อาหารญี่ปุ่นสุดแสนอร่อยที่เป็นหนึ่งในเมนูยอดนิยมของคนไทยนี่ เคยแอบกลัวอยู่ลึกๆ หรือไม่ว่ามันจะมีพยาธิรึเปล่า ถ้าเกิดเราโป๊ะเชะเจอเจ้าตัวขาวๆ เป็นเส้นๆ ยาวๆ ในเนื้อปลาที่กำลังกินอยู่เข้าจริงๆ ล่ะ!! มันคือตัวอะไรแน่ กินไปแล้ว จะเป็นยังไง จะทำให้เราเจ็บป่วยมากน้อยแค่ไหน!? พบกับคำตอบของคำถามคาใจผู้บริโภคปลาดิบกันได้เลย โดยวิทยากร ผศ. ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลอดเลือดหัวใจ ตอนที่ 8: สิทธิการรักษา / สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจในปัจจุบัน

หากต้องเข้ารับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ เราจะใช้สิทธิการรักษาพยาบาลอะไรได้บ้าง? สิทธิของเราที่มีครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลมากน้อยแค่ไหน เราต้องจ่ายเงินเพิ่มหรือไม่? สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจในประเทศไทยเป็นอย่างไร? เราเป็นผู้ป่วยที่เข้าข่ายโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือไม่? ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่เข้ารับการรักษา จะเกิดอะไรขึ้น!? โดย ผศ.พญ. อิงอร อรุณากูร อายุรแพทย์โรคหัวใจ จากศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 5: ปรสิตในอาหาร!?

พี่น้องฮะ! รู้หรือไม่ว่าอาหารพื้นบ้านแบบที่ชาวเราชอบกินกันมีความเสี่ยงหรือไม่!? เสี่ยงอะไรน่ะเหรอฮะ? ก็พยาธิ...ยังไงล่ะ!!! ทั้งพยาธิตืดวัว พยาธิตืดหมู พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิใบไม้ในปอด เรียงแถวกันเข้ามาเลยยยย.. อะจึ๋ย! อาหารอะไรกันล่ะที่จะมีพยาธิดึ๋ยๆ ดึ้บๆ อยู่ในนั้น? ปลาร้า ปลาส้ม ลาบ ก้อย แหนม ปูน้ำตก กุ้งฝอย แซ่บอีหลีแบบนี้ เข้าข่ายรึเปล่าเนี่ย!? ก็บีบมะนาวแล้ว เนื้อขาวหมดแล้ว มันสุกแล้วไม่ใช่เหรอ? มาดูกันเลยดีกว่าว่าที่เรียกว่า “สุกเพราะบีบมะนาว” นั้น มัน “สุก” แล้วจริงหรือไม่ โดยวิทยากร ผศ. ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย