ปิโตรเลียม หรือ น้ำมันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกนี้ กำเนิดขึ้นได้อย่างไร

วิธีสำรวจปิโตรเลียมทำอย่างไร

ความรู้ย่อยง่ายๆ จากวิทยากร:

คุณอรรถสิทธิ์ กอชัยพฤกษ์

ผู้เชี่ยวชาญสาขาบริหารธุรกิจและวิศวกรรมปิโตรเลียม

Offshore Oil & Gas Development

 

ปิโตรเลียมเกิดขึ้นได้อย่างไร

เกิดขึ้นจากชั้นหิน 3 ชั้น ได้แก่ หินต้นกำเนิด หินอุ้มปิโตรเลียม และหินกั้นปิโตรเลียม

หินต้นกำเนิด (Source Rock)

เกิดจากซากพืชซากสัตว์ทับถมหลายล้านปี เมื่อทับถม 1-3 กิโลเมตร ที่อุณหภูมิความร้อน ความดัน และระยะเวลาที่เหมาะสมจะกลายสภาพเป็นน้ำมัน

หินอุ้มปิโตรเลียม (Reservoir Rock)

เนื่องจากชั้นหินต้นกำเนิดมีรูพรุนไม่มาก นำน้ำมันขึ้นมาได้ยาก น้ำมันที่ไหลขึ้นมาจากชั้นหินด้านล่างจะถูกกักเก็บไว้ที่หินอุ้มปิโตรเลียมซึ่งเป็นชั้นหินทรายมีรูพรุน สามารถกักเก็บน้ำมันไว้ได้

หินปิดกั้นปิโตรเลียม (Cap Rock หรือ Seal Rock)

เป็นชั้นหินดินดานที่มีรูพรุนต่ำ ทำให้น้ำมันไม่ไหลขึ้นมาบนพื้นดิน

 

เขตชั้นปิโตรเลียม (Pay Zone)

คือ บริเวณที่มีน้ำมัน มีความลึกหลายระดับ ความลึกในการขุดหาปิโตรเลียมอย่างต่ำอยู่ที่ 1-3 กิโลเมตร ถ้าอุณหภูมิเกิน 130 องศาเซลเซียส น้ำมันจะกลายเป็นแก๊ส

 

วิธีการสำรวจปิโตรเลียมที่นิยมในปัจจุบัน

การสำรวจโดยใช้คลื่นความไหวสะเทือน (Seismic Survey)

เป็นการส่งสัญญาณคลื่นลงไปกระทบชั้นหินใต้ดิน แล้วสะท้อนกลับมาที่เครื่องรับสัญญาณ แบ่งออกเป็น 2 แบบ

  1. การสำรวจบนบก (Onshore) ใช้ตัวกำเนิดคลื่น เช่น
  • การฝังระเบิด
  • รถสั่นสะเทือนที่มีแท่นกระแทกพื้น
  1. การสำรวจในทะเล (Offshore) เป็นการสำรวจโดยใช้เรือลาก ด้านหลังเรือมีทุ่นส่งสัญญาณคลื่นไปกระทบชั้นหินใต้ทะเล มีตัวรับสัญญาณที่เรือลำถัดไป

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะนำมาเขียนแผนที่เผื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายเจาะสำรวจต่อไป