ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 7: อาหารปิ้งย่าง
ตอนที่แล้ว เราได้ฟังกันไปแล้วว่าปลาดิบญี่ปุ่นที่เรานิยมบริโภคกันนั้น จริงๆ แล้วมีพยาธิหรือไม่…
คราวนี้ สำหรับผู้นิยมชมชอบอาหารปิ้งย่าง โดยเฉพาะเนื้อหมูเนื้อวัวที่ปิ้งแบบเนื้อแดงๆ
ลองมาฟังกันเลยว่า อาหารโปรดของคุณนั้นปลอดภัยจากพยาธิหรือไม่!?
โดยวิทยากร ผศ. ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 6: “พยาธิ” ในปลา!?
เวลาเราไปกิน “ปลาดิบ” หรือ “ซาชิมิ” อาหารญี่ปุ่นสุดแสนอร่อยที่เป็นหนึ่งในเมนูยอดนิยมของคนไทยนี่
เคยแอบกลัวอยู่ลึกๆ หรือไม่ว่ามันจะมีพยาธิรึเปล่า
ถ้าเกิดเราโป๊ะเชะเจอเจ้าตัวขาวๆ เป็นเส้นๆ ยาวๆ ในเนื้อปลาที่กำลังกินอยู่เข้าจริงๆ ล่ะ!!
มันคือตัวอะไรแน่ กินไปแล้ว จะเป็นยังไง จะทำให้เราเจ็บป่วยมากน้อยแค่ไหน!?
พบกับคำตอบของคำถามคาใจผู้บริโภคปลาดิบกันได้เลย
โดยวิทยากร ผศ. ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 5: ปรสิตในอาหาร!?
พี่น้องฮะ! รู้หรือไม่ว่าอาหารพื้นบ้านแบบที่ชาวเราชอบกินกันมีความเสี่ยงหรือไม่!?
เสี่ยงอะไรน่ะเหรอฮะ?
ก็พยาธิ...ยังไงล่ะ!!! ทั้งพยาธิตืดวัว พยาธิตืดหมู พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิใบไม้ในปอด เรียงแถวกันเข้ามาเลยยยย..
อะจึ๋ย! อาหารอะไรกันล่ะที่จะมีพยาธิดึ๋ยๆ ดึ้บๆ อยู่ในนั้น?
ปลาร้า ปลาส้ม ลาบ ก้อย แหนม ปูน้ำตก กุ้งฝอย แซ่บอีหลีแบบนี้ เข้าข่ายรึเปล่าเนี่ย!?
ก็บีบมะนาวแล้ว เนื้อขาวหมดแล้ว มันสุกแล้วไม่ใช่เหรอ?
มาดูกันเลยดีกว่าว่าที่เรียกว่า “สุกเพราะบีบมะนาว” นั้น มัน “สุก” แล้วจริงหรือไม่
โดยวิทยากร ผศ. ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 4: จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคจากปรสิต
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคจากปรสิต หรือ "ติดพยาธิ" เข้าแล้ว
จะมีอาการอย่างไรที่จะทำให้รู้ได้ว่าเป็นโรคพยาธิ
ปวดท้อง ท้องเสีย เกี่ยวไหม
ซีด หรือ โลหิตจางล่ะ ใช่รึเปล่า
ถ้าหากว่าติดพยาธิจริงๆ แล้วละก็ เราลองมาดูการเดินทางของเจ้าพยาธิในร่างกายเรากันดีกว่าว่ามันจะเดินทางไปไหน และจะทำให้เราเจ็บป่วยอะไรได้บ้าง
พบกับวิทยากร ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 3: ปรสิตเข้าสู่ร่างกายทางใดได้บ้าง
เราคงพอรู้จัก “พยาธิ” หรือ “ปรสิต” กันมาบ้างแล้วใช่มั้ย
แต่รู้หรือไม่ว่า เจ้าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นี้แอบเข้ามาอาศัยอยู่ในร่างกายของคนเราได้ด้วยวิธีไหน
ใช่อาหารที่เรากินหรือไม่!?
แล้วในอากาศที่เราหายใจล่ะ จะมีพยาธิมั้ย!?
ติดตามชมจากวิทยากร ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 2: โปรโตซัวคืออะไร
เราคงเคยได้ยินคำว่า “โปรโตซัว” กันมาบ้าง แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วโปรโตซัวคืออะไร? สามารถก่อโรคหรือทำอันตรายให้เราได้มากน้อยแค่ไหน!? มาทำความรู้จักกับเจ้าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กชนิดนี้กัน
โดยวิทยากร ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 1: ปรสิตคืออะไร
บนโลกใบใหญ่นี้ มีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด หลากหลายสายพันธุ์ นับกันไม่ถ้วน
คุณอาจรู้จักสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่อย่างช้าง เสือ ปลาวาฬ...
แต่กับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อีกหลายชนิดที่เรามองเห็นแต่อาจไม่รู้จัก หรือบางชนิดอาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนั้น
เรารู้จักเพื่อนร่วมโลกเหล่านี้มากน้อยเพียงไร
มาทำความรู้จักกับ “ปรสิต” สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่คนทั่วไปอาจจะเรียกว่า “พยาธิ” กัน
พยาธิคืออะไร? ทำไมต้องอยู่อาศัยในร่างกายของเราด้วยนะ!?
ในรายการ “ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 1: ปรสิตคืออะไร”
โดยวิทยากร ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตอนที่ 1: ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร
สภาพอากาศปัจจุบันที่แสนจะปรวนแปรแบบนี้ เดี๋ยวๆ ก็ร้อนจัด เดี๋ยวๆ ก็ฝนตกหนักจนน้ำท่วม มันคืออะไรกัน
ใช่เป็นผลจากสิ่งที่เรียกว่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" หรือ "Climate Change" หรือไม่!?
ว่าแต่...เรารู้จัก Climate Change กันดีแค่ไหน
จริงๆ แล้วคืออะไรกันแน่ และเกิดจากสาเหตุอะไร ใช่น้ำมือมนุษย์เรากันเองหรือไม่
มาทำความเข้าใจกันได้เลย!
การบำบัดโรคมะเร็งด้วยเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell
นักวิจัยโรคมะเร็งอ้างว่า การบำบัดด้วยเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell ให้ผล “ยอดเยี่ยม” ในหมู่ผู้ป่วยจำนวนนับสิบๆ รายที่อาจมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่กี่เดือน การทดลองทางคลินิกขั้นต้นที่ใช้เม็ดเลือดขาวชนิดที-เซลล์ (T-cell) ในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อจัดการมะเร็งถือว่าได้ผล “ยอดเยี่ยม”
นักวิจัยค้นพบวิธีทำให้เซลล์มะเร็งเปล่งแสง
การตรวจพบเซลล์มะเร็งทุกเซลล์ในเนื้องอกเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะกันไม่ให้มะเร็งกลับมาอีก
ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าสามารถคัดแยกเซลล์มะเร็งได้โดยทำให้เซลล์เปล่งแสง