Others

จุดอ่อนและจุดเสียในระบบ

โครงสร้างสังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่ มีความอบอุ่นและมีน้ำใจต่อกันดีในระดับหนึ่ง แต่ขาดการทำงานที่เป็นระบบ โครงสร้างการปกครองมีความสับสนกึ่งประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการ ภูมิศาสตร์กายภาพเราเกื้อหนุนต่อระบบเศรษฐกิจ เสมือนเป็นศูนย์กลางติดต่อตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

สะอึก! คนรวยลงทุนนอกประเทศเพิ่มขึ้น แต่คนจนในประเทศมีมากขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทยสรุปธุรกิจปี พ.ศ. 2559 โต 24% นักลงทุนชาวไทยแห่ลงทุนในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 1.86 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 ที่ 8.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 9.8 หมื่นล้านบาท หรือ 112.5% รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น 1.35 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 ที่ 8.27 หมื่นล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 5.2 หมื่นล้านบาท หรือ 63.9% กลุ่มอาเซียนเป็นภูมิภาคที่นักลงทุนไทยไปลงทุนเพิ่ม โดยในปี พ.ศ. 2559 มีการลงทุนรวม 1.01 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 ที่ 7.5 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท คิดเป็น 36%

หาบเร่ แผงลอย อัตลักษณ์ชุมชนเมือง

หากพิจารณาเปรียบเทียบอ้างอิงจากงานศึกษาหลายชิ้น ระบุว่าผู้ค้าหาบเร่แผงลอยมีทั้งชาวกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด แต่สัดส่วนของผู้ประกอบอาชีพชาวต่างจังหวัดจะสูงขึ้น ด้วยสาเหตุความยากจนในภาคเกษตรกรรมและปํญหาการกระจายรายได้อย่างไม่เป็นธรรมระหว่างกรุงเทพฯ และชนบท

สหกรณ์ขุมทรัพย์ 2 ล้านล้านบาท

สหกรณ์ คือ องค์การของกลุ่มบุคคลซึ่งรวมตัวกันโดยสมัครใจ เพื่อดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกันและควบคุมตามหลักประชาธิปไตยเพื่อสนองความต้องการ(อันจำเป็น) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สหกรณ์การเกษตรของไทยแห่งแรกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2459 ชื่อว่าสหกรณ์วัดจันทร์ จังหวัดพิษณุโลก มีขนาดเล็กในระดับหมู่บ้าน ต่อมาแพร่หลายมากขึ้น จนแยกออกเป็น 7 ประเภทเพื่อให้เป็นระบบสหกรณ์มากขึ้น

ไม่มีใครรู้ทิศทางของประเทศในอนาคต

คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ห่วงอนาคตของประเทศ ซึ่งไม่รู้ว่าทิศทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ข่าวสารหรือข้อมูลต่างๆ คงจะได้รับน้อยลง เพราะการปกครองในปัจจุบันเน้นความมั่นคงของคณะผู้ปกครองมากกว่าความมั่นคงของประเทศในระยะยาว สถานการณ์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมคงไม่อาจคาดการณ์ได้

โครงสร้างพื้นฐานคมนาคม รอยต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว

ความล้มเหลวในระบบการเมืองและเศรษฐกิจเดิมส่งผลต่อระบบสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนการล้มลงของระบบทุนนิยมทั่วโลก การเงิน การผลิต และการค้าส่งผลต่อกันเป็นลูกโซ่ นักลงทุนต่างหยุดนิ่ง เพราะเกิดความไม่มั่นใจในตลาด เทคโนโลยี กับผลที่จะได้รับกลับมา ขณะที่ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ระบบที่เป็นอยู่ส่วนใหญ่ยังเชื่องช้าและกลายเป็นล้าหลัง

ธุรกิจผู้ขายออนไลน์กับธุรกิจโลจิสติกส์

จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ขายออนไลน์หนึ่งล้านห้าหมื่นราย แต่จดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์เพียงหนึ่งหมื่นสามพันรายเท่านั้น คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 2% ของผู้ขายออนไลน์ทั้งหมด ธุรกิจในรูปแบบนี้ไม่ต้องลงทุนหน้าร้าน ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่ ค่าจ้างพนักงานทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ส่งผลให้สินค้าและบริการต่างๆ เปิดขายกันอยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้มีผู้สนใจก้าวเข้าสู่ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซกันอย่างมาก

คนไทยปัจจุบัน น่าเป็นห่วงอนาคต

ในประเทศไทยปัจจุบันมีประชากร 65.9 ล้านคน เป็นชาย 32.1 ล้านคน (49%) หญิง 33.4 ล้านคน (51%) มีสัญชาติไทย 62.3 ล้านคน ไม่มีสัญชาติไทย 3.2 ล้านคน อายุ 15 ปี ขึ้นไปมี 55.83 ล้านคน อยู่ในกำลังแรงงาน 38.3 ล้านคน โดยที่ 37.6 ล้านคนมีงานทำ อีก 4.3 แสนคนว่างงาน ส่วนที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ไม่พร้อมทำงานมี 17.45 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา คนชรา เป็นต้น

โครงการระเบียงเศรษฐกิจ EEC ตอน: รัฐไทย ทุ่มสุดตัว

การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยดำเนินการโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปีพ.ศ. 2560-2564 ซึ่งใช้เงินลงทุนจากภาครัฐ 3 แสนล้านบาทและภาคเอกชนอีกกว่า 1.9 ล้านล้านบาท นับได้ว่าเป็นการลงทุนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย จากอดีตที่เคยลงทุนโดยภาครัฐและเอกชนภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ 1.5 แสนล้านบาท เมื่อปีพ.ศ. 2545-2549

มิติเศรษฐกิจใหม่ จตุรทิศตะวันตก-ตะวันออก

เมื่อระบบเศรษฐกิจเก่าล่มทั้งระบบ หลายประเทศพยายามกลับมาเน้นปรับปรุงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศตนเองทั้งระบบการผลิตและการบริโภค ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน จากเดิมพึ่งพาตลาดส่งออกตะวันตก ก็หันเหสู่ตลาดใหม่ มีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ พร้อมกับปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อรองรับตลาดในอนาคต