โครงสร้างพื้นฐานคมนาคม รอยต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว

ความล้มเหลวในระบบการเมืองและเศรษฐกิจเดิมส่งผลต่อระบบสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนการล้มลงของระบบทุนนิยมทั่วโลก การเงิน การผลิต และการค้าส่งผลต่อกันเป็นลูกโซ่ นักลงทุนต่างหยุดนิ่ง เพราะเกิดความไม่มั่นใจในตลาด เทคโนโลยี กับผลที่จะได้รับกลับมา ขณะที่ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ระบบที่เป็นอยู่ส่วนใหญ่ยังเชื่องช้าและกลายเป็นล้าหลัง

ธุรกิจผู้ขายออนไลน์กับธุรกิจโลจิสติกส์

จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ขายออนไลน์หนึ่งล้านห้าหมื่นราย แต่จดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์เพียงหนึ่งหมื่นสามพันรายเท่านั้น คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 2% ของผู้ขายออนไลน์ทั้งหมด ธุรกิจในรูปแบบนี้ไม่ต้องลงทุนหน้าร้าน ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่ ค่าจ้างพนักงานทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ส่งผลให้สินค้าและบริการต่างๆ เปิดขายกันอยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้มีผู้สนใจก้าวเข้าสู่ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซกันอย่างมาก

คนไทยปัจจุบัน น่าเป็นห่วงอนาคต

ในประเทศไทยปัจจุบันมีประชากร 65.9 ล้านคน เป็นชาย 32.1 ล้านคน (49%) หญิง 33.4 ล้านคน (51%) มีสัญชาติไทย 62.3 ล้านคน ไม่มีสัญชาติไทย 3.2 ล้านคน อายุ 15 ปี ขึ้นไปมี 55.83 ล้านคน อยู่ในกำลังแรงงาน 38.3 ล้านคน โดยที่ 37.6 ล้านคนมีงานทำ อีก 4.3 แสนคนว่างงาน ส่วนที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ไม่พร้อมทำงานมี 17.45 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา คนชรา เป็นต้น

โครงการระเบียงเศรษฐกิจ EEC ตอน: รัฐไทย ทุ่มสุดตัว

การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยดำเนินการโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปีพ.ศ. 2560-2564 ซึ่งใช้เงินลงทุนจากภาครัฐ 3 แสนล้านบาทและภาคเอกชนอีกกว่า 1.9 ล้านล้านบาท นับได้ว่าเป็นการลงทุนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย จากอดีตที่เคยลงทุนโดยภาครัฐและเอกชนภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ 1.5 แสนล้านบาท เมื่อปีพ.ศ. 2545-2549

มิติเศรษฐกิจใหม่ จตุรทิศตะวันตก-ตะวันออก

เมื่อระบบเศรษฐกิจเก่าล่มทั้งระบบ หลายประเทศพยายามกลับมาเน้นปรับปรุงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศตนเองทั้งระบบการผลิตและการบริโภค ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน จากเดิมพึ่งพาตลาดส่งออกตะวันตก ก็หันเหสู่ตลาดใหม่ มีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ พร้อมกับปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อรองรับตลาดในอนาคต

งบประมาณ ไอติม รัฐบาล ตอนที่ 2: รัฐวิสาหกิจ เครื่องดื่มชั้นดีรสเลิศ

นอกเหนือจากงบประมาณปกติซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ยังมีเงินนอกงบประมาณที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแล และรับผิดชอบภายใต้นโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีวงจรงบประมาณมากกว่างบประมาณปกติถึง 2 เท่าตัว โดยมีองค์กรของรัฐและหน่วยงานของรัฐทำธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของเป็นหน่วยงานปฏิบัติ เรียกกันว่า รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง เป็นผู้กำกับดูแลและบริหาร

งบประมาณ ไอติม รัฐบาล ตอนที่ 1: งบประมาณปกติ ไอติมแท่ง

เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นและไม่ซับซ้อนมากในความหมายของคำต่างๆ ที่เขียน รัฐบาลคือองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครอง รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่รัฐขาดไม่ได้ รัฐคือดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและประชากรแน่นอน อำนาจอธิปไตย คืออำนาจซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครอง ส่วนที่มาของอำนาจในการปกครองนั้นอาจแตกต่างกัน

ไทย (ใคร) จะลดความเหลื่อมล้ำ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯ ได้กำหนดในแผนปี พ.ศ. 2560-2564 จะทำให้ประชากร 40% (27 ล้านคน) ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยในปัจจุบัน 5,344 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นอีก 2,411 บาทต่อเดือน เป็น 7,755 บาทต่อคนต่อเดือน...ประเด็นสำคัญคงอยู่ที่ความเป็นจริง ในอนาคตอีก 5 – 10 ปี ข้างหน้า เศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงมาก แล้วคนในสังคมเราจะไล่ทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้แค่ไหน หรือเราจะยิ่งห่างกันมากขึ้นในแง่ของรายได้ของประชากร

โลกยุค 4.0 ไทยระวังจนกับรวย ห่างไกลกันสุดขอบ

มีการคาดการณ์ว่าโลกยุค 4.0 จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจในทุกด้าน และมีโรคแทรกซึ่งมีผลข้างเคียงมากมาย ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงจะเป็นโอกาสให้คนจำนวนมากสร้างอาชีพใหม่ๆ วิธีการทำงานรูปแบบใหม่ และสร้างรายได้เพิ่ม แต่ในทางกลับกันก็สร้างความท้าทาย การจ้างงานทางธุรกิจและอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมลดลง

การเมืองกับการปกครอง และนักการเมืองไม่ใช่การเมือง

หากสังคมไทยจะมองการเมืองแบบไม่เข้าใจ หรือมองในแง่เลวร้าย จนถึงระดับที่มองนักการเมืองคือการเมือง และเป็นบุคคลที่แสวงหาประโยชน์นั้น ก็ไม่รู้สึกแปลกใจ เพราะในรอบกว่า 50 ปี เป็นมาเช่นนั้น แม้ในบางช่วงจะมีนักการเมืองที่มีอุดมคติจริง เสียสละและทำเพื่ออุดมคติจริงๆ บ้าง แต่คงไม่มีทางที่จะมีศักยภาพเหนือกว่าบุคคลที่มีอุดมคติเล็กน้อยแต่หาประโยชน์ที่มากกว่าได้ในหลายรูปแบบ