เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน จะมีสัญญาณใดบ่งบอกหรือไม่
กระบวนการก่อโรคกระดูกพรุนเป็นอย่างไร
ฮอร์โมนเอสโตรเจนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคกระดูกพรุน

พบกับวิทยากร: รศ.นพ. ณัฐพล ธรรมโชติ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

สัญญาณโรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุนไม่มีอาการบอก สังเกตได้จากเมื่ออายุมากขึ้นแล้วความสูงลดลง แต่ส่วนสูงที่ลดลงอาจจะเกิดจากเข่าโก่งก็ได้

กระบวนการทำให้เกิดกระดูกพรุน

เซลล์กระดูกของร่างกายสร้างและทำลายกระดูกตลอดเวลา เซลล์มีลักษณะเหมือนหัวจรวด ด้านหน้าเป็นเซลล์ทำลาย กิน แล้วเกิดการสลายทำให้เกิดโพรงขึ้น เซลล์ที่สร้างกระดูกจะตามมาสร้างกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง ถ้าไม่มีกระบวนการนี้จะทำให้กระดูกเปราะง่าย

ปกติการสร้างและทำลายจะสมดุลกัน ในผู้หญิง เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เซลล์ที่ทำลายกระดูกทำลายได้มากขึ้น เพราะเอสโตรเจนเป็นตัวยับยั้งเซลล์ที่ทำลายกระดูก ทำให้กระดูกบางลงเรื่อยๆ โดยทั่วไปเมื่ออายุ 30-50 ปี อัตราการลดลงของมวลกระดูกอยู่ที่ 0.5 – 1% ต่อปี หลังจากหมดประจำเดือนแล้ว อัตราการลดลงของมวลกระดูกจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 – 2% ต่อปี