กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนมักเกิดกับกระดูกส่วนใดบ้าง
ใครเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง?
ทำไมกระดูกสะโพกหักจึงนำไปสู่การเสียชีวิตได้!?
ฟังคำตอบได้จาก
รศ.นพ. ณัฐพล ธรรมโชติ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

กระดูกหักจากกระดูกพรุน

คนไข้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน มักจะมีกระดูกหักดังนี้

  1. กระดูกข้อมือ
  2. กระดูกสันหลัง
  3. กระดูกสะโพก มักพบเมื่อคนไข้เป็นกระดูกพรุนมาก ผู้ป่วยมีอัตราตายภายใน 1 ปี ถึง 20% หรือ 1 ใน 5 คน อีก 2 คน ไม่สามารถเดินได้ดีเหมือนเดิม มีเพียง 1 คนที่สามารถกลับไปสู่สภาพเดิมได้

ทำไมกระดูกสะโพกหักจึงเสียชีวิตได้

กระดูกสะโพกหักมักพบในผู้ป่วยอายุเฉลี่ย 70-75 ปี ผู้ป่วยสูงอายุมักจะมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ทำให้มีความเสี่ยงขณะผ่าตัด และเสียชีวิตได้ แต่ถ้าได้รับการผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง