Little Snail Curry

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย

Interstellar

หนังนำเสนอประเด็นหลากหลายซึ่งหนังไซ-ไฟอวกาศทั่วไปไม่ค่อยพูดถึงเช่น เรื่องมิติแห่งเวลา ซึ่งถูกนำเสนอในฐานะปมปัญหาสำคัญที่ตัวละครต้องแก้ไขและต่อสู้กับมัน ทั้งนี้โนแลนเป็น ผกก. ที่เชี่ยวชาญในการเล่นกับเวลาอยู่แล้ว

Gone Girl

หนังสร้างมาจากนิยายของกิลเลียน ฟลินน์ และเธอก็เขียนบทเองด้วยกำกับโดยเดวิด ฟินเชอร์ (ผู้กำกับเรื่อง The Social Network สุดรักของดิฉัน) เป็นเรื่องราวของนิกและเอมี่ ดันน์

Saint Seiya: Legend of Sanctuary

งานภาพซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ทำทั้งหมดนั้นเป็นประดุจเกมคอมพิวเตอร์เน้นความอลังของฉาก บรรยากาศ และการต่อสู้ แต่หน้าตัวละครแข็งปั๋งไม่ได้อารมณ์เหมือนงานวาดมือสมัยที่ฉายทางทีวีเลย หน้าทุกคนเปลี่ยนไปกลายเป็นหน้าเหมือนกันหมด ต่างกันแต่สีตา สีผม ทรงผม

Boyhood

หนังที่ริชาร์ด ลิงเคลเตอร์ ผู้กำกับและเขียนบท ใช้เวลาถ่ายทำ 12 ปี ตั้งแต่เมสัน ตัวละครเอก (แสดงโดยน้องเอลลาร์ โคลเทรน) อายุ 6 ขวบ จนถึงอายุ 18 ให้เด็กโตขึ้นและผู้ใหญ่แก่ขึ้นตามเวลาจริง ลำพังการถ่ายทำหนังด้วยวิธีการแบบนี้ก็เป็นประวัติศาสตร์ในตัวมันเองอยู่แล้ว แต่หนังไปไกลยิ่งกว่านั้นอีก

ตุ๊กแกรักแป้งมาก

จริงๆ ก็เกือบไม่ไปดูแล้วล่ะเพราะชื่อหนังกับการโปรโมตไม่ค่อยโดนดิฉันเท่าไหร่ เช่น โปรโมตว่าเป็นหนังน่ารัก (ดิฉันชอบหนังสนุก ไม่ต้องน่ารักก็ได้) หรือโปรโมตว่าเป็นหนังรักในยุคที่ผู้คนยังไม่มีช่องทางติดต่อกันในโลกออนไลน์ (แล้วไง?) แถมโปสเตอร์ก็ยังไงไม่รู้ ตามภาพ แต่เห็นใครๆ ก็บอกว่าหนังดี ดิฉันเลยไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง

Words and Pictures

นี่คือสงครามระหว่างครูหนุ่มสอนภาษาอังกฤษ (แสดงโดย ไคลฟ์ โอเวน) กับครูสาวสอนศิลปะ (แสดงโดย จูเลียตต์ บิโนช) ต่อสู้กันด้วยการพิสูจน์ว่าระหว่างถ้อยคำกับภาพวาดอย่างไหนจะสื่อความหมายได้มากกว่ากัน สงครามนี้ไม่มีใครแพ้ใครชนะ เพราะทั้งในเรื่องนี้และในความเป็นจริง ไม่มีใครตัดสินได้หรอกว่าอะไรสื่อความหมายได้มากกว่า หากมันเป็นงานที่ดีแล้วไม่ว่าจะถ่ายทอดด้วยถ้อยคำหรือด้วยภาพ ก็ทรงพลังและสื่อความหมายได้ลึกซึ้งกว้างขวางเช่นเดียวกัน

The Fault in Our Stars 2

ในชีวิตมีหลายครั้งที่ดูหนังแล้วตกอยู่ในภวังค์ ไม่สามารถเลิกคิดถึงหนังเรื่องนั้นได้ เพราะหนังมีอะไรบางอย่างทำให้เราต้องคิดต่ออีกเยอะแยะหลังจากดูจบ วิธีแก้มีทางเดียว จั๊งซี่มันต้องถอน ถอนด้วยการไปดูเรื่องนั้นซ้ำอีก แล้วก็จะสบายอกสบายใจออกจากภวังค์ได้ ที่ผ่านมามีหลายเรื่องที่ต้องไปดูซ้ำ เช่น Nobody Knows/ Lust, Caution/ รักแห่งสยาม/ บอดี้ ศพ #19/ Cloud Atlas ฯลฯ จนกระทั่งมาถึงเรื่องล่าสุด The Fault in Our Stars

Million Dollar Arm

หนังเรื่องนี้สร้างมาจากเรื่องราวชีวิตจริงของคุณเจ.บี. เบิร์นสตีน เอเย่นต์นักกีฬาชาวอเมริกัน ตอนนั้นเป็นขาลงของแกไม่มีนักกีฬาในสังกัดเลย หวิดจะล้มละลายขายตัวอยู่รอมร่อแกจึงดิ้นรนเฮือกสุดท้าย บินไปอินเดีย สร้างเรียลลิตีโชว์ The Million Dollar Arm เพื่อค้นหาพิตเชอร์หน้าใหม่ชาวอินเดียมาเป็นเด็กในคาถา

The Fault in Our Stars

อาศัยใบบุญนักวิจารณ์ไปดูหนังรอบสื่อ เรื่อง The Fault in Our Stars ซึ่งสร้างจากนวนิยายดังของจอห์น กรีนชื่อของนวนิยายเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากไดอะล็อกหนึ่งในบทละครเรื่องจูเลียส ซีซาร์ ของวิลเลียม เชกสเปียร์ ชื่อของนวนิยายเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากไดอะล็อกหนึ่งในบทละครเรื่องจูเลียส ซีซาร์ ของวิลเลียม เชกสเปียร์ "The fault,...is not in our stars, but in ourselves, that we are underlings"

The Incident

หนังเรื่องนี้เป็น Courtroom Drama (หนังที่มีเรื่องราวส่วนใหญ่เป็นการว่าความในศาล) แบบฮาร์ดคอร์สุดลิ่มทิ่มประตูมาก ช่วงแรกถึงกับเหวอมีฉากอัยการอ่านสำนวนคดีให้ฟังเกือบสิบห้านาที