Home Tags สังคมไทย

Tag: สังคมไทย

จุดอ่อนและจุดเสียในระบบ

โครงสร้างสังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่ มีความอบอุ่นและมีน้ำใจต่อกันดีในระดับหนึ่ง แต่ขาดการทำงานที่เป็นระบบ โครงสร้างการปกครองมีความสับสนกึ่งประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการ ภูมิศาสตร์กายภาพเราเกื้อหนุนต่อระบบเศรษฐกิจ เสมือนเป็นศูนย์กลางติดต่อตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

สะอึก! คนรวยลงทุนนอกประเทศเพิ่มขึ้น แต่คนจนในประเทศมีมากขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทยสรุปธุรกิจปี พ.ศ. 2559 โต 24% นักลงทุนชาวไทยแห่ลงทุนในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 1.86 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 ที่ 8.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 9.8 หมื่นล้านบาท หรือ 112.5% รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น 1.35 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 ที่ 8.27 หมื่นล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 5.2 หมื่นล้านบาท หรือ 63.9% กลุ่มอาเซียนเป็นภูมิภาคที่นักลงทุนไทยไปลงทุนเพิ่ม โดยในปี พ.ศ. 2559 มีการลงทุนรวม 1.01 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 ที่ 7.5 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท คิดเป็น 36%

หาบเร่ แผงลอย อัตลักษณ์ชุมชนเมือง

หากพิจารณาเปรียบเทียบอ้างอิงจากงานศึกษาหลายชิ้น ระบุว่าผู้ค้าหาบเร่แผงลอยมีทั้งชาวกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด แต่สัดส่วนของผู้ประกอบอาชีพชาวต่างจังหวัดจะสูงขึ้น ด้วยสาเหตุความยากจนในภาคเกษตรกรรมและปํญหาการกระจายรายได้อย่างไม่เป็นธรรมระหว่างกรุงเทพฯ และชนบท

สหกรณ์ขุมทรัพย์ 2 ล้านล้านบาท

สหกรณ์ คือ องค์การของกลุ่มบุคคลซึ่งรวมตัวกันโดยสมัครใจ เพื่อดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกันและควบคุมตามหลักประชาธิปไตยเพื่อสนองความต้องการ(อันจำเป็น) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สหกรณ์การเกษตรของไทยแห่งแรกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2459 ชื่อว่าสหกรณ์วัดจันทร์ จังหวัดพิษณุโลก มีขนาดเล็กในระดับหมู่บ้าน ต่อมาแพร่หลายมากขึ้น จนแยกออกเป็น 7 ประเภทเพื่อให้เป็นระบบสหกรณ์มากขึ้น

ไม่มีใครรู้ทิศทางของประเทศในอนาคต

คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ห่วงอนาคตของประเทศ ซึ่งไม่รู้ว่าทิศทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ข่าวสารหรือข้อมูลต่างๆ คงจะได้รับน้อยลง เพราะการปกครองในปัจจุบันเน้นความมั่นคงของคณะผู้ปกครองมากกว่าความมั่นคงของประเทศในระยะยาว สถานการณ์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมคงไม่อาจคาดการณ์ได้

โครงสร้างพื้นฐานคมนาคม รอยต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว

ความล้มเหลวในระบบการเมืองและเศรษฐกิจเดิมส่งผลต่อระบบสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนการล้มลงของระบบทุนนิยมทั่วโลก การเงิน การผลิต และการค้าส่งผลต่อกันเป็นลูกโซ่ นักลงทุนต่างหยุดนิ่ง เพราะเกิดความไม่มั่นใจในตลาด เทคโนโลยี กับผลที่จะได้รับกลับมา ขณะที่ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ระบบที่เป็นอยู่ส่วนใหญ่ยังเชื่องช้าและกลายเป็นล้าหลัง

คนไทยปัจจุบัน น่าเป็นห่วงอนาคต

ในประเทศไทยปัจจุบันมีประชากร 65.9 ล้านคน เป็นชาย 32.1 ล้านคน (49%) หญิง 33.4 ล้านคน (51%) มีสัญชาติไทย 62.3 ล้านคน ไม่มีสัญชาติไทย 3.2 ล้านคน อายุ 15 ปี ขึ้นไปมี 55.83 ล้านคน อยู่ในกำลังแรงงาน 38.3 ล้านคน โดยที่ 37.6 ล้านคนมีงานทำ อีก 4.3 แสนคนว่างงาน ส่วนที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ไม่พร้อมทำงานมี 17.45 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา คนชรา เป็นต้น

ไทย (ใคร) จะลดความเหลื่อมล้ำ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯ ได้กำหนดในแผนปี พ.ศ. 2560-2564 จะทำให้ประชากร 40% (27 ล้านคน) ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยในปัจจุบัน 5,344 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นอีก 2,411 บาทต่อเดือน เป็น 7,755 บาทต่อคนต่อเดือน...ประเด็นสำคัญคงอยู่ที่ความเป็นจริง ในอนาคตอีก 5 – 10 ปี ข้างหน้า เศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงมาก แล้วคนในสังคมเราจะไล่ทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้แค่ไหน หรือเราจะยิ่งห่างกันมากขึ้นในแง่ของรายได้ของประชากร

โลกยุค 4.0 ไทยระวังจนกับรวย ห่างไกลกันสุดขอบ

มีการคาดการณ์ว่าโลกยุค 4.0 จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจในทุกด้าน และมีโรคแทรกซึ่งมีผลข้างเคียงมากมาย ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงจะเป็นโอกาสให้คนจำนวนมากสร้างอาชีพใหม่ๆ วิธีการทำงานรูปแบบใหม่ และสร้างรายได้เพิ่ม แต่ในทางกลับกันก็สร้างความท้าทาย การจ้างงานทางธุรกิจและอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมลดลง

การเมืองกับการปกครอง และนักการเมืองไม่ใช่การเมือง

หากสังคมไทยจะมองการเมืองแบบไม่เข้าใจ หรือมองในแง่เลวร้าย จนถึงระดับที่มองนักการเมืองคือการเมือง และเป็นบุคคลที่แสวงหาประโยชน์นั้น ก็ไม่รู้สึกแปลกใจ เพราะในรอบกว่า 50 ปี เป็นมาเช่นนั้น แม้ในบางช่วงจะมีนักการเมืองที่มีอุดมคติจริง เสียสละและทำเพื่ออุดมคติจริงๆ บ้าง แต่คงไม่มีทางที่จะมีศักยภาพเหนือกว่าบุคคลที่มีอุดมคติเล็กน้อยแต่หาประโยชน์ที่มากกว่าได้ในหลายรูปแบบ