Direct VS Indirect Objects

วันนี้ขอว่าด้วยเรื่องของ ‘Direct’ และ ‘Indirect’ Objects ในภาษาอังกฤษ… มุมมองอีกมุมจากการท่องจำที่ว่า “กรรมตรงเป็นของ กรรมรองเป็นคน”

เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ในโครงสร้างประโยคที่มีกริยาอย่าง give, send หรือ buy someone something นั้น ในการแยกประเภทของ Object ในประโยคนั้น กำหนดให้ someone ทำหน้าที่ Indirect Object (กรรมรอง) และ something ทำหน้าที่เป็น Direct Object (กรรมตรง) พร้อมกับท่องกฎขึ้นใจว่า “กรรมตรงเป็นของ กรรมรองเป็นคน” ดังตัวอย่างเช่น …

  • She already sent [me] {a letter}.
  • I gave [my sister] {a birthday present}.

[ ] = Indirect Object { } = Direct Object

ในขณะที่รูปประโยคที่ย้าย me และ my sister ไปอยู่หลัง Preposition ‘to’ ในโครงสร้าง Verb something to someone นั้น กลับถูกมองว่า something นั้นเป็น Direct Object แต่ (to) someone ไม่ใช่ Indirect Object แต่เป็นรูปขยาย

  • She already sent {a letter} to me.
  • I gave {a birthday present} to my sister.

แต่จากการวิเคราะห์โครงสร้างของประโยคข้างต้นจะพบว่า Direct Object คือกรรมตรงที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับกริยา ซึ่งทั้ง a letter และ a birthday present นั้น ถือว่าเป็น Direct Object โดยไม่ต้องสงสัย ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ที่รูป to me และ to my sister ที่ถูกมองว่าเป็นส่วนขยายนั้น กลับไม่สามารถทำหน้าที่เป็นส่วนขยายเพราะไม่สามารถตัดทิ้งออกไปจากโครงสร้างนี้ได้ แต่ทำหน้าที่สำคัญในโครงสร้างนี้ ซึ่งจากโครงสร้าง send/ give sth. to so. นั้น me และ my sister ไม่ได้สัมพันธ์กับ Verb ‘send’ และ ‘give’ โดยตรง แต่เป็นส่วนที่ตามหลัง Preposition ‘to’ ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนที่ต้องอยู่ในโครงสร้างนี้ หน้าที่ของ me และ my sister จึงเป็น Indirect Object (กรรมรอง)

ส่วนสองประโยคด้านล่างนี้

  • She already sent [me] [a letter].
  • I gave [my sister] [a birthday present].

Verb ‘sent’ และ ‘gave’ เป็น Di-transitive Verb หรือกริยาที่ต้องการกรรม 2 ตัว แต่คำถามที่ถกเถียงคือ กรรม 2 ตัวนั้นควรเป็นกรรมประเภทใด กรรมรอง กับกรรมตรง หรือกรรมตรงทั้ง 2 ตัว

จากการวิเคราะห์ประโยคด้วยเกณฑ์ทางโครงสร้างพบว่าทั้ง me และ a letter ในประโยคแรก และ my sister และ a birthday present ถือเป็นส่วนที่สัมพันธ์โดยตรงกับกริยา sent และ gave ทั้งคู่ และมีความสำคัญเท่ากัน หากตัดตัวใดตัวหนึ่งทิ้งไป ก็จะทำให้ประโยคนั้นไม่สมบูรณ์ ทำให้เราสรุปได้ว่าเมื่อทั้งสองส่วนมีความสำคัญเท่ากัน ก็ควรจะต้องทำหน้าที่เป็นกรรมตรง (Direct Objects) ทั้งคู่ ไม่มีเหตุผลฟังขึ้นที่จะบอกว่า me และ my sister เป็นกรรมรอง (Indirect Objects) เพียงเพราะว่า “กรรมตรงเป็นของ กรรมรองเป็นคน”

นอกจากนี้ตำแหน่งของ me และ my sister ในประโยคด้านบนนั้น อยู่ในตำแหน่งที่ตามหลังกริยาทันที (Immediately after a verb) ดังนั้น การที่จะไปฟันธงโดยไม่คิดว่าจะต้องทำหน้าที่เป็นกรรมรอง ทั้งๆ ที่ a letter และ a birthday present อยู่ในตำแหน่งถัดมา และถูกกำหนดหน้าที่ให้เป็นกรรมตรงนั้น เป็นการวิเคราะห์ที่ขัดกับสิ่งที่เห็นเป็นอย่างมาก

แม้ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษอย่าง Longman ได้กำหนดให้ Ditransitive Verb คือกริยาที่ต้องการทั้งกรรมตรงและกรรมรอง โดยกรรมรองนั้นเป็นหนึ่งในกรรมที่ปรากฏอยู่ในโครงสร้างที่มีรูปแบบ Verb so. sth. ในตำแหน่งที่ตามหลัง Verb ทันที (so.) แต่จากการวิเคราะห์ข้างต้นแล้ว จะพบว่าการกำหนดเช่นนี้ไม่มีน้ำหนักมากเพียงพอ

ในการกำหนด Basic Clause Structure ในภาษาอังกฤษนั้น โครงสร้างของ Verb sth. to so. กับ Verb so. sth. นั้นเป็นคนละโครงสร้างกันและประกอบด้วยส่วนประกอบที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะมีความหมายเหมือนกันก็ตาม ดังรายละเอียดด้านล่างนี้ …

  • • She sent me a letter. ••

ถือเป็น Basic Clause Structure ประเภท Ditransitive ซึ่งประกอบด้วย DO (me) และ DO (a letter) …

ส่วน

  • • She sent a letter to me. ••

ถือเป็น Basic Clause Structure ประเภท Dative ซึ่งประกอบด้วย DO (a letter) และ IO (me)

*** DO = Direct Object

*** IO = Indirect Object

สรุป:

1) ในโครงสร้าง Ditransitive (Verb so. sth.) จะประกอบด้วย DO ทั้งหมด 2 ตัว

2) ในโครงสร้าง Dative (Verb sth. to do.) จะประกอบด้วย DO และ IO ตามลำดับ

3) จะไม่มีรูปแบบที่วางให้ IO เกิดก่อน DO เพราะ IO จะไม่มีวันสัมพันธ์โดยตรงหรือตามหลังกริยาทันทีได้

4) การท่องจำว่า “กรรมตรงเป็นของ กรรมรองเป็นคน” นั้นควรเลิกได้แล้ว อีกอย่าง Pattern ทั้ง Verb sth. to so. และ Verb so. sth. นั้น รูป so. ที่ว่า อาจถูกแทนด้วยรูปของ sth. ก็ได้ เช่น …

  • The chilis give a spicy flavor to this dish.
  • The chilis give this dish a spicy flavor.

รูป so. ที่คุ้นเคย ถูกแทนด้วย this dish ซึ่งเป็น sth —

โดย AJ.TRT

4 กรกฎาคม 2015