เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 5 (ต่อ): พลเอกชาติชาย ทายาทราชครู...

ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลชาติชายกับกองทัพในช่วงปลายของรัฐบาลสูงขึ้น อำนาจในกองทัพตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจปร.รุ่น 5 พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก และพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ และจปร. รุ่น 1 พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ความหวาดระแวงมีมากขึ้นท่ามกลางข่าวลือกับยุทธการทางจิตวิทยา ในที่สุด กองทัพกระทำการยึดอำนาจ

สะอึก! คนรวยลงทุนนอกประเทศเพิ่มขึ้น แต่คนจนในประเทศมีมากขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทยสรุปธุรกิจปี พ.ศ. 2559 โต 24% นักลงทุนชาวไทยแห่ลงทุนในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 1.86 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 ที่ 8.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 9.8 หมื่นล้านบาท หรือ 112.5% รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น 1.35 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 ที่ 8.27 หมื่นล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 5.2 หมื่นล้านบาท หรือ 63.9% กลุ่มอาเซียนเป็นภูมิภาคที่นักลงทุนไทยไปลงทุนเพิ่ม โดยในปี พ.ศ. 2559 มีการลงทุนรวม 1.01 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 ที่ 7.5 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท คิดเป็น 36%

การเมืองกับการปกครอง และนักการเมืองไม่ใช่การเมือง

หากสังคมไทยจะมองการเมืองแบบไม่เข้าใจ หรือมองในแง่เลวร้าย จนถึงระดับที่มองนักการเมืองคือการเมือง และเป็นบุคคลที่แสวงหาประโยชน์นั้น ก็ไม่รู้สึกแปลกใจ เพราะในรอบกว่า 50 ปี เป็นมาเช่นนั้น แม้ในบางช่วงจะมีนักการเมืองที่มีอุดมคติจริง เสียสละและทำเพื่ออุดมคติจริงๆ บ้าง แต่คงไม่มีทางที่จะมีศักยภาพเหนือกว่าบุคคลที่มีอุดมคติเล็กน้อยแต่หาประโยชน์ที่มากกว่าได้ในหลายรูปแบบ

โครงสร้างพื้นฐานคมนาคม รอยต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว

ความล้มเหลวในระบบการเมืองและเศรษฐกิจเดิมส่งผลต่อระบบสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนการล้มลงของระบบทุนนิยมทั่วโลก การเงิน การผลิต และการค้าส่งผลต่อกันเป็นลูกโซ่ นักลงทุนต่างหยุดนิ่ง เพราะเกิดความไม่มั่นใจในตลาด เทคโนโลยี กับผลที่จะได้รับกลับมา ขณะที่ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ระบบที่เป็นอยู่ส่วนใหญ่ยังเชื่องช้าและกลายเป็นล้าหลัง

มิติเศรษฐกิจใหม่ จตุรทิศตะวันตก-ตะวันออก

เมื่อระบบเศรษฐกิจเก่าล่มทั้งระบบ หลายประเทศพยายามกลับมาเน้นปรับปรุงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศตนเองทั้งระบบการผลิตและการบริโภค ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน จากเดิมพึ่งพาตลาดส่งออกตะวันตก ก็หันเหสู่ตลาดใหม่ มีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ พร้อมกับปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อรองรับตลาดในอนาคต

เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 5: พลเอกชาติชาย ทายาทราชครูรุ่นที่ 2

แม้ยังเติร์กจะจบ พลเอกอาทิตย์จะอัสดง ก็มิใช่ว่าพลเอกเปรมจะบริหารงานได้ราบรื่นและมีเอกภาพ ความไม่ลงรอยกันในพรรคกิจสังคมและพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งขัดแย้งกันในการเลือกหัวหน้าพรรค นำมาสู่การไม่ลงมติเห็นชอบในการแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาธิปัตย์บางส่วน แม้รัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์จะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากรัฐมนตรี เพื่อให้ปรับคณะรัฐมนตรี แต่พลเอกเปรมกลับยุบสภา

ไทย (ใคร) จะลดความเหลื่อมล้ำ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯ ได้กำหนดในแผนปี พ.ศ. 2560-2564 จะทำให้ประชากร 40% (27 ล้านคน) ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยในปัจจุบัน 5,344 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นอีก 2,411 บาทต่อเดือน เป็น 7,755 บาทต่อคนต่อเดือน...ประเด็นสำคัญคงอยู่ที่ความเป็นจริง ในอนาคตอีก 5 – 10 ปี ข้างหน้า เศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงมาก แล้วคนในสังคมเราจะไล่ทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้แค่ไหน หรือเราจะยิ่งห่างกันมากขึ้นในแง่ของรายได้ของประชากร

เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 9: รัฐธรรมนูญปี 40 เปิดอำนาจประชาชน...

หากติดตามมาโดยลำดับ คงจะทราบดีว่าระบบเศรษฐกิจและสังคมเราหละหลวมหลายด้าน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางการเมืองเป็นไปตามยุคสมัยของผู้มีอำนาจ กลุ่มทุนเก่าที่มีทุนดั้งเดิม ผนวกกับผู้มีอำนาจทางทหารในแต่ละช่วง เกิดการสนธิกันกับกลุ่มคนจีนที่เก่งการค้า กลายเป็นทุนที่มีอำนาจทางสังคมและบริบททางปกครอง เรามีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ ความเป็นประชาธิปไตยจะมีมากหรือน้อยก็มักอ้างตามกรอบอำนาจในรัฐธรรมนูญจนความศักดิ์สิทธิ์ของความหมายในประชาธิปไตยลดลง และลืมนึกกับคิดไปว่าเป็นไปได้หรือที่รัฐธรรมนูญซึ่งเกิดจากอำนาจในแต่ละช่วงซึ่งคณะผู้มีอำนาจกำหนดขึ้นนั้นจะมีความเป็นประชาธิปไตย

รายได้กับรายจ่ายคนไทย ฟ้าไม่ปรานีใคร

หากกล่าวถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ Gross Domestic Product, GDP อันหมายถึง รายจ่ายเพื่อบริโภค + รายจ่ายเพื่อการลงทุน + รายจ่ายของรัฐบาล + รายจ่ายของต่างประเทศที่ซื้อสินค้าผลิตในประเทศไทย ในกลุ่มประเทศอาเซียน คนไทยมีรายได้เฉลี่ยเป็นอันดับที่ 4 ในขณะที่ค่าแรงงานเป็นอันดับที่ 3 ของตลาดอาเซียน

เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 8: วิกฤตเศรษฐกิจ ทุนเก่าล้ม ทุนใหม่เกิด

ในช่วง 10 ปี (พ.ศ. 2529-2539) เศรษฐกิจไทยเติบโตรวดเร็วมาก แต่การเปิดเสรีทางการเงินหละหลวม ตามด้วย BIBF ในปี พ.ศ. 2536 ทำให้ระบบการเงินการลงทุนขยายตัว ก่อให้เกิดปัญหาหนี้ต่างประเทศ ความไม่มีเสถียรภาพของการดำเนินนโยบายที่มีหลายรัฐบาลและมาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้หนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) พุ่งขึ้นถึง 52% ของสินเชื่อรวมในสถาบันการเงิน