Home Tags Mystery

Tag: Mystery

Midsommar จุดจบของความสัมพันธ์

แดนี่ หญิงสาวชาวอเมริกันที่อยู่ในช่วงการทำใจจากโศกนาฏกรรมในครอบครัว ตัดสินใจไปสวีเดนกับคริสเชียน แฟนหนุ่ม พร้อมด้วยเพื่อนๆ ของฝ่ายชาย เพื่อไปเก็บข้อมูลทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับประเพณีเฉลิมฉลองวันกลางฤดูร้อนในท้องถิ่นที่จัดขึ้นทุกๆ 90 ปี โดยทั้งหมดหารู้ไม่ว่าการเฉลิมฉลองครั้งนี้มีอะไรที่เกินความคาดหมายของพวกเขามากทีเดียว Midsommar มีจุดเริ่มที่คล้ายกับ Hereditary ผลงานเรื่องก่อนหน้าของอารี แอสเตอร์ (Ari Aster) คือมีตัวละครที่ประสบกับภาวะ PTSD (Post traumatic stress disorder) หลังการสูญเสียสมาชิกในครอบครัว ซึ่งนำไปสู่อาการซึมเศร้า และก่อให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งกับคนใกล้ตัว

Searching

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 184; ดู Searching หนังสืบสวนระทึกขวัญในโลกยุคดิจิทัลและชีวิตออนไลน์ คุณพ่อผู้ต้องเลี้ยงลูกสาววัยรุ่นตามลำพังหลังจากคุณแม่เสียชีวิตไป ต้องตกใจแทบสิ้นสติ เมื่อพบว่าลูกสาวหายตัวไปอย่างลึกลับ โดยที่เขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับลูกพอจะเป็นเบาะแสให้ติดตามหาได้เลย เมื่อหมดโอกาสที่จะค้นหาในโลกจริง เขาจึงไปค้นหาในโลกโซเชียล แล้วความจริงที่ค่อยๆ เผยออกมาทั้งจากการสืบสวนของตำรวจและจากการสืบหาของเขาเอง ก็ทำเอาเขาหงายเงิบช็อกซีนีม่าครั้งแล้วครั้งเล่า

Hereditary

คุณอาจเคยดูหนังสยองขวัญที่ครอบครัวหนึ่งถูกคุกคามด้วยสิ่งชั่วร้ายบางอย่าง (เป้าหมายการคุกคามมักเป็นเด็ก) ทำให้ครอบครัวดังกล่าวต้องประสบเหตุการณ์ขนหัวลุกหรือเป็นอันตรายแก่ชีวิต แต่ท้ายสุดด้วยความรักและสามัคคีของคนในครอบครัว หรือการเสียสละของใครคนหนึ่ง (เช่นพ่อหรือแม่เด็ก) จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายกลับกลายเป็นดีได้... แต่คุณจะไม่เจออะไรแบบนั้นใน Hereditary

Hereditary

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 175; ดู Hereditary หนังผีเขย่าขวัญกรรมพันธุ์นรก Hereditary เป็นผลงานการเขียนบทและกำกับหนังยาวเรื่องแรกของ แอรี แอสเตอร์ ผู้กำกับหนุ่มชาวอเมริกันวัย 31 ซึ่งเมื่อ 7 ปีที่แล้วได้ทำหนังสั้นเรื่องแรกในชีวิต ชื่อว่า The Strange Thing about the Johnsons (เรื่องประหลาดเกี่ยวกับครอบครัวจอห์นสัน) ว่าด้วยลูกชายที่คุกคามทางเพศพ่อของตัวเอง #เกินบรรยาย สำหรับเรื่อง Hereditary นี้ ก็เป็นเรื่องประหลาดเกี่ยวกับอีกครอบครัวหนึ่ง ประกอบด้วยคุณพ่อ คุณแม่ ลูกชายคนโต และลูกสาวคนเล็ก ครอบครัวนี้เพิ่งสูญเสียคุณยายไป แล้วหลังจากนั้นก็บูมบาลาก้าโบโบโบ้ ชิกกาลาก้าบาบาบ้า

Suburbicon

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 156; ดู Suburbicon หนังที่มีชื่อไทยถูกใจดิฉันอย่างแรงว่า “พ่อบ้านซ่าส์ บ้าดีเดือด” นับไปนับมา นี่คือหนังเรื่องที่ 6 แล้วนะที่เฮียจอร์จ คลูนีย์ กำกับ และเป็นเรื่องที่ 5 ที่เขียนบทเองด้วย จัดว่าแกก็เอาดีทางนี้ได้อยู่แหละ เข้าชิงรางวัลมาก็เยอะ แถมยังมีแนวทางที่ค่อนข้างชัดเจน คือมักจะทำหนังตีแผ่สังคมและการเมืองกากๆ ของอเมริกาด้วยท่าทีเสียดสีเย้ยหยัน หรือไม่ก็ล้อเลียนไปเลย สะท้อนความเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคมของแก ซึ่งแกก็เป็นมานานแล้ว และจัดได้ว่าเป็น ‘ตัวจริง’ คนหนึ่ง

The Killing of a Sacred Deer

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 154; ดู The Killing of a Sacred Deer หรือชื่อไทยว่า “เจ็บแทนได้ไหม” #คนละอารมณ์เชียว หลังจากทำหนังตลกร้ายบีบหัวใจทั้งคนโสดและคนมีคู่ อย่าง The Lobster เมื่อปี 2015 ผู้กำกับชาวกรีก ยอร์กอส ลานธิมอส ก็กลับมาอีกครั้ง คราวนี้มาในแนวสยองขวัญจิตวิทยา โดยเขียนบทร่วมกับเอฟธิมิส ฟิลิปปู ผู้เขียนบทคู่กันมาโดยตลอด รวมทั้งบทเรื่อง The Lobster ด้วย

The Third Murder

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 153; ดู The Third Murder หนังระทึกขวัญเกี่ยวกับการไต่สวนคดีฆาตกรรม ผลงานการกำกับ เขียนบท และตัดต่อ (ควบสามตำแหน่งเช่นเคย) ของ โคเรเอดะ ฮิโรคะสุ นักทำหนังชาวญี่ปุ่นที่คนไทยน่าจะรู้จักมากที่สุดแล้วในตอนนี้ เพราะที่ผ่านมา ไม่ว่าแกจะทำหนังกี่เรื่องๆ ก็ได้มาฉายในเมืองไทย ดิฉันเองยังได้ดูหนังของแกมาตั้ง 6 เรื่อง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 7 และก็คงจะดูต่อไปจนชั่วกัลปาวสาน 555

Wind River

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 152; ดู Wind River หรือชื่อไทย “ล่าเดือด เลือดเย็น” หนังสืบสวนคดีอาชญากรรมในแดนเถื่อน ผลงานกำกับและเขียนบทของคุณพี่เทย์เลอร์ เชอริแดน ผู้เขียนบทหนังที่เคยเข้าชิงรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในหลากหลายเวที จากผลงานเรื่อง Sicario เมื่อปี 2015 และ Hell or High Water เมื่อปี 2016 หนังทั้งสองเรื่องดังกล่าว ค่อนข้างจะเป็นหนังนอกกระแสในเมืองไทย แต่มีบทบาทในเวทีรางวัลอย่างมาก ปัจจัยสำคัญก็มาจากบทภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันโดดเด่น ด้วยฝีมือการเขียนของเชอริแดนนี่แหละ

Murder on the Orient Express

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 151; ดู Murder on the Orient Express หนังที่สร้างจากนวนิยายสืบสวนสอบสวนของ อกาธา คริสตี เด็กรุ่นใหม่จะรู้จักคุณหญิงอกาธา คริสตี หรือเปล่าก็ไม่รู้สิ แต่สำหรับคนรุ่นกลางเก่ากลางใหม่อย่างดิฉัน ชื่อนี้ขลังพอๆ กับ เจ. เค. โรว์ลิง ในปัจจุบัน หรืออาจจะมากกว่าด้วย ท่านเป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงก้องโลกจากผลงานการประพันธ์นวนิยาย เรื่องสั้น และบทละครเวที ตั้งแต่ปี 1920-1975 (พ.ศ. 2463-2518) ถ้านับเป็นเรื่องก็ราวๆ 300 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นแนวสืบสวนสอบสวน จนได้รับยกย่องเป็น “ราชินีแห่งอาชญนิยาย” ผู้มีสไตล์โดดเด่นในการผูกเรื่องให้ลึกลับซ่อนเงื่อนเกินคาดเดา

mother!

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 138; ดู mother! คำเดียวกับ "มาตา" ในภาษาบาลี "มาตฤ" ในภาษาสันสกฤต (อ่านว่า มา-ตฺริ) ซึ่งไทยเรายืมมาดัดแปลง เติม ร เป็นตัวสะกดพยางค์หน้า เปลี่ยน ต เป็น ด กลายเป็นคำว่า "มารดา" ที่เกริ่นนำเกี่ยวกับชื่อเรื่องนี่ก็เพราะว่าชื่อหนังเรื่องนี้น่าสนใจ สังเกตได้ว่าใช้ m เล็ก ไม่ใช่ M ใหญ่แบบชื่อหนังทั่วไป ทั้งยังมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ด้วย (คือเครื่องหมายตกใจนั่นล่ะฮ่ะ) พอได้ดูหนังตัวอย่างก็ตกใจไปอีก นี่มันหนังอะไรหว่า